MKT Team
เวลาขับรถบนท้องถนน ความปลอดภัยในการเดินทางเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด
แต่บ่อยครั้งก็มักเกิดปัญหาไม่คาดคิดโดยเฉพาะปัญหาแบตเตอรี่หมด
ที่ทำให้ระบบเครื่องยนต์หยุดชะงัก และเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเฉพาะหน้า
ด้วยวิธีการต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “จัมพ์แบตเตอรี่”
เพื่อให้เกิดกำลังไฟเพียงพอที่จะทำให้ระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์ทำงาน และสามารถเดินรถต่อไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
“การจัมพ์แบตเตอรี่สามารถทำได้เอง แต่ต้องระมัดระวัง
เพราะแบตเตอรี่ มีส่วนประกอบหลัก คือ น้ำกรดที่มีคุณสมบัติเป็นตัวการกัดกร่อนพื้นผิว
ซึ่งขณะที่แบตเตอรี่กำลังทำงานจะเกิดก๊าซไฮโดรเจนสะสมในตัวแบตเตอรี่
จึงควรระวังในเรื่องประกายไฟ เพราะอาจเกิดอันตรายระหว่างจัมพ์แบตเตอรี่ได้”
**วิธีการ ‘จัมพ์แบตเตอรี่’**
เมื่อแบตเตอรี่หมดให้ปิดสวิตช์กุญแจและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดของรถและขอความช่วยเหลือจากรถยนต์ที่มีแบตเตอรี่
เพื่อต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีแดงซึ่งเป็นสายขั้วบวกมาต่อกับขั้วบวก (+) ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด
หลังจากนั้นนำหัวต่ออีกข้างต่อเข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน
นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีเขียวหรือสีดำซึ่งเป็นสายขั้วลบมาต่อกับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน
ควรตรวจเช็คให้แน่ใจว่าสายพ่วงต่อแน่นหนา
ต่อจากนั้นนำสายหัวต่อที่เหลือต่อเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด
โดยควรต่อให้ห่างจากแบตเตอรี่มากที่สุด จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่มีไฟ ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที
แล้วเร่งเครื่องยนต์เล็กน้อยเพื่อให้แบตเตอรี่มีการไหลเวียนของประจุไฟฟ้า หลังจากนั้น เริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่หมด
จากนั้นเร่งเครื่องยนต์ประมาณ 1,500 - 2,000 รอบ/นาที เพื่อเช็คดูว่าประจุไฟเข้าหลังจากการชาร์จหรือไม่ ซึ่งถ้าเครื่องยนต์ไม่ดับแสดงว่าการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่สำเร็จ
จากนั้นถอดสายพ่วงสีเขียว หรือสายขั้วลบ (-) ออกจากตัวถังรถคันที่แบตเตอรี่หมด และตามด้วยหัวต่อขั้วลบของแบตเตอรี่ที่มีไฟ จากนั้นจึงถอดสายสีแดงหรือสายขั้วบวก (+) จากรถคันที่แบตเตอรี่หมด และถอดหัวสายพ่วงจากแบตเตอรี่ที่มีไฟ ปิดฝาช่องเติมน้ำกลั่นให้ครบทุกช่องและควรสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือขับรถไปเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คเครื่องยนต์และเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

**วิธีการ ‘จัมพ์แบตเตอรี่’**
ขั้นตอนที่ 1 ต่อหัวสายพ่วงสีแดงเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ
ขั้นตอนที่ 2 ต่อหัวสายพ่วงสีแดงอีกด้านเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่รถที่มีไฟ
ขั้นตอนที่ 3 ต่อหัวสายพ่วงสีดำหรือเขียวเข้ากับขั้วลบแบตเตอรี่ที่มีไฟ
ขั้นตอนที่ 4 ต่อหัวสายพ่วงสีดำหรือเขียวเข้ากับตัวถังรถคันที่แบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ
ขั้นตอนที่ 5 สตาร์ทเครื่องยนต์เริ่มจากรถที่แบตเตอรี่มีไฟก่อน

**ปลอดภัยเวลา “จัมพ์แบตเตอรี่”**
- ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ระหว่างต่อสายพ่วงแบตเตอรี่
- เวลาต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ อย่าสูบบุหรี่หรือทำสิ่งใดๆ และระวังอย่าให้สายพ่วงแบตเตอรี่สัมผัสกัน เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้
- ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ โดยใช้น้ำร้อนราดที่ขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ขั้ว เพื่อขจัดคราบเกลือที่เกาะติดอยู่
- ตรวจเช็คกำลังไฟของแบตเตอรี่ก่อน เพราะแบตเตอรี่ขนาด 6 โวลต์ หรือ 24 โวตล์ ไม่สามารถนำมาพ่วงกับแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ได้ เพราะอาจทำให้แบตเตอรี่เกิดการระเบิดขึ้นได้
- ตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่ก่อนทุกครั้ง โดยดูจากที่วัดของแบตเตอรี่ หรือใช้ที่วัดความถ่วงจำเพาะ(HYDROMETER) บริเวณด้านข้างของแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น สีเขียว = ประจุไฟฟ้าเต็ม สีน้ำตาลหรือสีดำ = ประจุไฟหมด สีเหลือง=แบตเตอรี่หมดอายุการใช้งาน
MKT Team
การดูแลรักษารถเบื้องต้น
ในระบบสตาร์ทรถยนต์โดยทั่วไป ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลที่กุญแจสตาร์ทจะต้องบิดกุญแจ 3 จังหวะ คือ AC , ON และ START ผู้ขับขี่บางท่านอาจจะปิดกุญแจรวดเดียว 3 จังหวะไปที่ START ถ้ารถท่านเป็นรถใหม่ก็อาจจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ารถท่านผ่านการใช้งานมานาน ๆ อาจต้องสตาร์ทหลายครั้งก่อนที่เครื่องยนต์จะติด ซึ่งระหว่างที่ท่านสตาร์ทรถหลาย ๆ ครั้งนั้น ท่านกำลังทำลายระบบสตาร์ทให้อายุการใช้งานสั้นลง วันนี้เรามีคำแนะนำการสตาร์ทรถที่ถูกวิธี ท่านจะไม่ต้องมานั่งสตาร์ท แชะ แชะ แชะ ให้เสียฟอร์ม และยังเป็นการยืดอายุระบบสตาร์ทให้ใช้งานได้ ดีอีกนานแสนนาน ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
1. ปิดอุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฟทั้งหมดในรถ เช่น เครื่องปรับอากาศไฟหน้า และเครื่องเสียงต่าง ๆ เพื่อให้แบตเตอร์รี่จ่ายไฟเต็มที่
2. เหยีบครัชให้สุด (สำหรับเกียร์ AUTO ให้เข้าเกียร์ที่ตำแหน่ง N หรือ P เพื่อผ่อนแรงมอร์เตอร์สตาร์ท
3. บิดกุญแจมาที่ตำแหน่ง ON ค้างไว้ ตราวจเช็คไฟเตือนต่าง (รายละเอียดให้ศึกษาจากคู่มือรถ) รอจนไฟเตือนหัวเผารูปขดสปริงเปลี่ยนจาก สีแดงเป็นสีเขียว หากเครื่องยนต์เย็นควรกดแป้นคันเร่ง 1 ครั้ง
4. บิดกุญแจสตาร์ทเท่านี้คุณก็ไม่ต้องนั่งเสียฟอร์มสตาร์ทรถ แชะ แชะ แชะแล้ว
ขอให้ทำจนเป็นนิสัยไม่ว่ารถเก่าหรือรถใหม่ หากทำตามวิธีนี้แล้วไม่ได้ผลให้ ท่านนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการหรือร้านซ่อมระบบไฟไดชาร์ท ไดสตาร์ทโดยทั่วไป
MKT Team
การเตรียมความพร้อมก่อนการไปสอบใบขับขี่

1 การทดสอบตาบอดสี
โดยเจ้าหน้าที่จะชี้ไปที่จุดสีในวงกลมโดยจะมีแค่ 3 สี คือ สีแดง สีเหลืองและสีเขียว เท่านั้น

2 การทดสอบปฏิกริยา
ความไวของเท้าในการเบรคหรือการตอบสนองของเท้า โดยเจ้าหน้าที่จะชี้ไปที่จุดสีในวงกลมโดยจะมีแค่ 3 สี คือ สีแดง สีเหลืองและสีเขียว เท่านั้น

3 การทดสายตาทางกว้าง
โดยเจ้าหน้าที่จะให้ผู้ทดสอบจมูกแนบกับเครื่องทดสอบตามองตรงไปข้างหน้าและใช้หางตาทั้งสองข้างดูไฟด้านข้างทั้งสองข้างให้ถูกต้องจะมีเจ้าหน้าที่คอยกดไฟให้ผู้ทดสอบตอบว่าซ้ายสีอะไรและขวาสีอะไร มีสีแดง สีเขียวและสีเหลืองเท่านั้น

4 การทดสอบสายตาทางลึก
โดยเจ้าหน้าที่จะให้ผู้ทดสอบนั่งห่างจากตัวเครื่องทดสอบระยะ 2.50 – 3.50 เมตร ภายในตัวเครื่องผู้ทดสอบจะมองเห็นหลักอยู่ 2 หลัก อยู่ขนานกันแล้วเจ้าหน้าที่จะเลื่อนหลักไปด้านหลัง 1 หลัก แล้วให้ผู้ทดสอบใช้กล่องควบคุม กล่องควบคุมก็จะมีปุ่ม 2 ปุ่ม สีเขียวจะเลื่อนออกจากตัวและสีแดงจะเข้ามาหาตัวผู้ทดสอบ ผู้ทดสอบจะต้องเลื่อนหลัก 2 หลักให้มาขนานกันและไม่ห่างเกิน 1 นิ้ว ถือว่าผ่านการทดสอบ
5 การทดสอบข้อเขียน
ด้วยระบบ อี – เอ็กแซม เป็นการทดสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งสะดวกและรวดเร็วทราบผลได้ทันทีหลังการทดสอบ ระบบจะสุ่มแบบทดสอบให้ทำเพียง 30 ข้อ ๆ ละ 1 คะแนน ทำคะแนนได้มากกว่า 23 คะแนนถือว่าผ่าน เกณฑ์
สอบใบขับขี่ ท่าปฏิบัติ
สอบใบขับขี่ ท่าปฏิบัติ มี 3 ท่า
• จอดเข้าซองโดยการเอาหน้าเข้า (เดินหน้า ถอยหลัง)
• ถอยหลังเข้าซองครับ โดยการถอยจากจุดสอบที่หนึ่งที่เราเข้าโดยการเอาหน้าเข้า
• จอดชิดขอบทาง
1. การเข้าซอง(เอาหน้าเข้า)
สำหรับด่านนี้ ส่วนใหญ่ผ่านครับเพราะถือเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว จุดที่ต้องระวังคือ เมื่อเราอยู่ในรถ ต้องคาดเข็มขัด ห้ามรับโทรศัพท์ และรถห้ามดับครับ ไม่อย่างนั้น ตกทันทีครับ (ขณะขับต้องเปิดกระจกทั้งสองด้านด้วย และควรเปิดไฟเลี้ยวเมื่อต้องการจะเลี้ยวด้วย ) สำหรับช่องที่ให้เข้าไปจอดนั้น มีขนาดใหญ่กว่าช่องจอดปกติเล็กน้อย
2. ถอยหลังเข้าซอง
สำหรับข้อนี้จะมีกฎเพิ่มมาคือ ให้ใช้เกียร์ได้เพียง 7 เกียร์ (สำหรับถอยเข้า และ ถอยออกเพื่อไปสอบด่านต่อไปด้วย) ถ้าใช้เกินตก
3. จอดเทียบฟุตบาท
ด่านนี้ ให้จอดเทียบฟุตบาทโดยมีระยะห่างห้ามเกิน 25 ซมครับ(ตามกฎหมาย และมีถามในตอนสอบทฤษฎีด้วย) และจอดหลังป้ายเครื่องหมายหยุด ในระยะทางที่พอเหมาะ ซึ่งในขณะสอบด่านนี้ จุดที่ยากคือห้ามใช้เกียร์ถอยหลังครับ ถ้าใช้ตกทันที จอดระยะห่างเกินที่กำหนดก็ตกทันที สำหรับด่านนี้มีเทคนิคคือเราควรจัดรถให้มีระยะที่พอดีก่อนที่จะเข้าไปยังพื้นที่สอบ เพราะถ้าเข้าพื้นที่สอบแล้วเราจะไม่สามารถใช้เกียร์ถอยหลังได้
สิ่งที่เราต้องเน้นเลยคือ ใจเย็นๆครับ คนไปสอบก็มือใหม่ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องรน ถ้าเป็นไปได้ คันเร่งไม่ต้องไปเหยียบเลยก็ได้ครับ ค่อยปล่อยๆรถไหลไป ถ้าผิดอะไร จะได้แก้ทันครับ คนสอบตกส่วนใหญ่จะประหม่า เลยทำให้ตัดสินใจผิดพลาด และที่สำคัญอย่าตกม้าตายเรื่องที่ควรระวังครับ เช่น คาดเข็มขัด โทรศัพท์มาห้ามรับ(ปิดไปเลยยิ่งดี) และอย่าลืมเปิดไฟเลี้ยวหากจะเลี้ยว สำหรับคนที่ยังไม่ผ่าน ก็สามารถมาสอบแก้วันหลังได้ ซึ่งสามารถแก้เฉพาะท่าที่ไม่ผ่านได้ แต่ ถ้าตกท่า2 ต้องสอบท่าที่1ด้วย เพราะเป็นท่าต่อเนื่องครับ สุดท้ายนี้ขอฝากถึงคนที่ไปสอบแล้วแต่ยังไม่ผ่านนะครับ ว่าไม่ต้องเสียใจไป ไปสอบครั้งใหม่ใจเย็นๆครับอย่าไปเครียดกับมัน คิดว่าไปขับเล่นสนุกๆดีกว่า ส่วนเรื่องซื้อใบขับขี่อย่าไปซื้อเลยครับตัดปัญหาการถูกหลอก ได้ยินมาว่ามีพวกกลุ่มหลอกหลวงที่มาบอกว่าจ่ายเงินให้เขา แล้วเขาจะสามารถไปเอาใบขับขี่มาให้เราได้โดยไม่ต้องสอบ แต่พอเราจ่ายไปก็หายต๋อม การสอบมันไม่ได้ยากอย่างที่คิด แถมเรายังได้อะไรมากกว่าที่คิดครับ
ที่มา siamdriving.com
MKT Team
บุคคลที่เกิดวันอาทิตย์
สีที่เป็นมงคล ควรเป็นสีชมพู สีโอโรส เพราะเป็นเดช อำนาจ และบารมี สีเขียวเป็นสีแห่งโชคลาภเงินทอง หรือสีดำ สีเทา สีควันบุหรี่เป็นสีของมนตรี มีคนคอยช่วยเหลือ ผู้ใหญ่สนับสนุนดี
* สีอื่นๆไม่ดีและไม่เสีย (ธรรมดา) สีที่ต้องห้าม คือ สีฟ้า สีน้ำเงิน (เป็นสีที่อัปมงคลตลอดชีวิต) เพราะเป็นสีที่เป็นกาลกินีของบุคคลที่เกิดวันอาทิตย์
นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่เกิดวันวันอาทิตย์
* อายุย่าง 23 , 32 , 41 , 50 , 59 , 68และอายุ 77 ปีห้ามซื้อรถสีชมพู สีโอโรส เพราะเป็นสีที่โชคร้ายในช่วงอายุที่ย่างมาถึง
* สำหรับช่วงอายุย่าง 24 , 33 , 42 ,51 ,60 ,และ 69 สีที่ห้ามซื้อคือสีเขียวทุกชนิด
* และช่วงอายุย่าง 18 , 27 , 36 ,45 ,54 , 63 และ 72ปี สีที่ห้ามซื้อคือ สีดำ สีเทา สีควันบุหรี่ เพราะเป็นสีที่โชคร้าย ในช่วงอายุที่มาถึงเช่นกัน
* ถ้าไม่ใช่อายุจรที่ย่างมาถึงดังกล่าวข้างต้นก็สามารถเลือกซื้อสีที่เป็นมงคลได้ตลอด

บุคคลที่เกิดวันจันทร์

สีที่เป็นมงคล ควรเป็นสีเขียว หรือสีแดง เพราะเป็นเดช อำนาจ และบารมี สีดำ สีม่วงเป็นสีแห่งโชคลาภเงินทอง หรือสีฟ้า สีน้ำเงินเป็นสีของมนตรี มีคนคอยช่วยเหลือ ผู้ใหญ่สนับสนุนดี
* สีอื่นๆไม่ดีและไม่เสีย (ธรรมดา) สีที่ต้องห้าม คือ สีแดง (เป็นสีที่อัปมงคลตลอดชีวิต)
นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่เกิดวันจันทร์
* ช่วงอายุย่าง 22 , 31 , 40 , 49 , 58 และ 67 ปีห้ามซื้อรถสีเขียวทุกชนิด เพราะเป็นสีที่โชคร้ายในช่วงอายุที่ย่างมาถึง
* สำหรับช่วงอายุย่าง 23 , 32 , 41 ,50 ,59 และ 68 ปี สีที่ห้ามซื้อคือสีดำ , สีม่วง
* และช่วงอายุย่าง 26 , 35 , 44 , 53 , 62 , 71 และ 80 ขึ้นไป สีที่ห้ามซื้อคือ สีฟ้า สีน้ำเงิน เพราะเป็นสีที่โชคร้าย ในช่วงอายุที่มาถึงเช่นกัน
* ถ้าไม่ใช่อายุจรที่ย่างมาถึงดังกล่าวข้างต้นก็สามารถเลือกซื้อสีที่เป็นมงคลได้ตลอด ยกเว้นสีแดงสีเดียว

บุคคลที่เกิดวันอังคาร

สีที่เป็นมงคล ควรเป็นสีดำ หรือสีม่วง เพราะเป็นเดช อำนาจ และบารมี สีเหลืองแก่ สีแสด สีบรอนซ์ทองเป็นสีแห่งโชคลาภเงินทอง หรือสีแดงเป็นสีของมนตรี มีคนคอยช่วยเหลือ ผู้ใหญ่สนับสนุนดี
* สีอื่นๆไม่ดีและไม่เสีย (ธรรมดา) สีที่ต้องห้าม คือ สีบรอนซ์เงิน สีขาว สีเหลืองอ่อน เพราะเป็นสีที่เป็นกาลกินีของบุคคลที่เกิดวันอังคาร
นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่เกิดวันอังคาร
* อายุย่าง 22 , 31 , 40 , 49 , 58 และ 67 ปีห้ามซื้อรถสีดำและสีม่วง เพราะเป็นสีที่เป็นกาลกินีของบุคคลที่เกิดวันอังคาร
* สำหรับช่วงอายุย่าง 23 , 32 , 41 ,50 ,59 และ 68 ปี สีที่ห้ามซื้อคือสีหลืองแก่ สีแสด สีบรอนซ์ทอง
* และช่วงอายุย่าง 18 , 27 , 36 ,45 ,54 , 63 และ 72ปี สีที่ห้ามซื้อคือ สีแดง เพราะเป็นสีที่โชคร้าย ในช่วงอายุที่มาถึงเช่นกัน
* ถ้าไม่ใช่อายุจรที่ย่างมาถึงดังกล่าวข้างต้นก็สามารถเลือกซื้อสีที่เป็นมงคลได้ตลอด

บุคคลที่เกิดวันพุธ(กลางวัน)

สีที่เป็นมงคล ควรเป็นสีเหลืองแก่ สีแสด สีบรอนซ์ทอง เพราะเป็นเดช อำนาจ และบารมี สีดำ สีเทาเป็นสีแห่งโชคลาภเงินทอง หรือสีขาว สีขาวนวล สีบรอนซ์ทอง สีเหลืองอ่อนเป็นสีของมนตรี มีคนคอยช่วยเหลือ ผู้ใหญ่สนับสนุนดี
* สีอื่นๆไม่ดีและไม่เสีย (ธรรมดา) สีที่ต้องห้าม คือ สีชมพู สีโอโรส (เป็นสีที่อัปมงคลตลอดชีวิต) เพราะเป็นสีที่เป็นกาลกินีของบุคคลที่เกิดวันพุธ(กลางวัน)
นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่เกิดวันพุธ(กลางวัน)
* อายุย่าง 22 , 31 , 40 , 49 , 58 และ 67 ปีห้ามซื้อรถสีเหลืองแก่ สีแสด และสีบรอนซ์ทอง เพราะเป็นสีที่โชคร้ายในช่วงอายุที่ย่างมาถึง
* สำหรับช่วงอายุย่าง 23 , 32 , 41 ,50 ,59 และ 68 ปี สีที่ห้ามซื้อคือสีดำ , สีเทา
* และช่วงอายุย่าง 18 , 27 , 36 ,45 ,54 , 63 และ 72ปี สีที่ห้ามซื้อคือ สีขาว สีขาวนวล สีบรอนซ์เงิน สีเหลืองอ่อน เพราะเป็นสีที่โชคร้าย ในช่วงอายุที่มาถึงเช่นกัน
* ถ้าไม่ใช่อายุจรที่ย่างมาถึงดังกล่าวข้างต้นก็สามารถเลือกซื้อสีที่เป็นมงคลได้ตลอด

บุคคลที่เกิดวันพุธ(กลางคืน)

สีที่เป็นมงคล ควรเป็นสีแดง เพราะเป็นเดช อำนาจ และบารมี สีขาว สีขาวนวล สีบรอนซ์เงิน สีเหลืองอ่อนเป็นสีแห่งโชคลาภเงินทอง หรือสีดำ สีม่วงเป็นสีของมนตรี มีคนคอยช่วยเหลือ ผู้ใหญ่สนับสนุนดี
* สีอื่นๆไม่ดีและไม่เสีย (ธรรมดา) สีที่ต้องห้าม คือ สีเหลืองแก่ สีบรอนซ์เงิน สีแสด (เป็นสีที่อัปมงคลตลอดชีวิต) เพราะเป็นสีที่เป็นกาลกินีของบุคคลที่เกิดวันพุธ(กลางคืน)
นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่เกิดวันพุธ(กลางคืน)
* อายุย่าง 23 , 32 , 41 , 50 , 59 , 68และ 77 ปีห้ามซื้อรถสีแดง เพราะเป็นสีที่โชคร้ายในช่วงอายุที่ย่างมาถึง
* สำหรับช่วงอายุย่าง 24 , 33 , 42 ,51 ,60 และอายุ 69 สีที่ห้ามซื้อคือสีขาว สีขาวนวล สีบรอนซ์เงินและสีเหลืองอ่อน
* และช่วงอายุย่าง 22 , 31 , 40 ,49 ,58 และ 67ปี สีที่ห้ามซื้อคือ สีดำ สีม่วง เพราะเป็นสีที่โชคร้าย ในช่วงอายุที่มาถึงเช่นกัน
* ถ้าไม่ใช่อายุจรที่ย่างมาถึงดังกล่าวข้างต้นก็สามารถเลือกซื้อสีที่เป็นมงคลได้ตลอด

บุคคลที่เกิดวันพฤหัสบดี

สีที่เป็นมงคล ควรเป็นสีฟ้า สีน้ำเงิน เพราะเป็นเดช อำนาจ และบารมี สีแดงเป็นสีแห่งโชคลาภเงินทอง หรือสีเขียวเป็นสีของมนตรี มีคนคอยช่วยเหลือ ผู้ใหญ่สนับสนุนดี
* สีอื่นๆไม่ดีและไม่เสีย (ธรรมดา) สีที่ต้องห้าม คือ สีดำ สีม่วง (เป็นสีที่อัปมงคลตลอดชีวิต) เพราะเป็นสีที่เป็นกาลกินีของบุคคลที่เกิดวันพฤหัสบดี
นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่เกิดวันพฤหัสบดี
* อายุย่าง 22 , 31 , 40 , 49 , 58 และ 67 ปีห้ามซื้อรถสีฟ้า สีน้ำเงิน เพราะเป็นสีที่โชคร้ายในช่วงอายุที่ย่างมาถึง
* สำหรับช่วงอายุย่าง 24 , 33 , 42 ,51 ,60 , 69และอายุย่าง 78 ปี สีที่ห้ามซื้อคือสีแดง
* และช่วงอายุย่าง 18 , 27 , 36 ,45 ,54 , 63 และ 72ปี สีที่ห้ามซื้อคือ สีเขียวทุกชนิด เพราะเป็นสีที่โชคร้าย ในช่วงอายุที่มาถึงเช่นกัน
* ถ้าไม่ใช่อายุจรที่ย่างมาถึงดังกล่าวข้างต้นก็สามารถเลือกซื้อสีที่เป็นมงคลได้ตลอด

บุคคลที่เกิดวันศุกร์

สีที่เป็นมงคล ควรเป็นสีขาวนวล สีบรอนซ์เงิน สีเหลืองอ่อนเพราะเป็นเดช อำนาจ และบารมี สีชมพู และสีโอโรสเป็นสีแห่งโชคลาภเงินทอง หรือสีแสด สีเหลืองแก่ สีบรอนซ์ทอง เป็นสีของมนตรี มีคนคอยช่วยเหลือ ผู้ใหญ่สนับสนุนดี
* สีอื่นๆไม่ดีและไม่เสีย (ธรรมดา) สีที่ต้องห้าม คือ สีเทา สีดำ สีควันบุหรี่ (เป็นสีที่อัปมงคลตลอดชีวิต) เพราะเป็นสีที่เป็นกาลกินีของบุคคลที่เกิดวันศุกร์
นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่เกิดวันศุกร์
* อายุย่าง 23 , 32 , 41 , 50 , 59 , 68 และ 77 ปีห้ามซื้อรถสีขาวนวล สีบรอนซ์เงิน สีเหลืองอ่อน เพราะเป็นสีที่โชคร้ายในช่วงอายุที่ย่างมาถึง
* สำหรับช่วงอายุย่าง 24 , 33 , 42 ,51 ,60 , 69 ปี สีที่ห้ามซื้อคือสีชมพู สีโอโรส
* และช่วงอายุย่าง 18 , 27 , 36 ,45 ,54 , 63 และ 72ปี สีที่ห้ามซื้อคือ สีเหลืองแก่ สีบรอนซ์ทอง และสีแสด เพราะเป็นสีที่โชคร้าย ในช่วงอายุที่มาถึงเช่นกัน
* ถ้าไม่ใช่อายุจรที่ย่างมาถึงดังกล่าวข้างต้นก็สามารถเลือกซื้อสีที่เป็นมงคลได้ตลอด

บุคคลที่เกิดวันเสาร์

สีที่เป็นมงคล ควรเป็นสีเทา สีดำ เพราะเป็นเดช อำนาจ และบารมี สีฟ้า สีน้ำเงินเป็นสีแห่งโชคลาภเงินทอง หรือสีชมพู สีโอโรสเป็นสีของมนตรี มีคนคอยช่วยเหลือ ผู้ใหญ่สนับสนุนดี
* สีอื่นๆไม่ดีและไม่เสีย (ธรรมดา) สีที่ต้องห้าม คือ สีเขียวทุกชนิด (เป็นสีที่อัปมงคลตลอดชีวิต) เพราะเป็นสีที่เป็นกาลกินีของบุคคลที่เกิดวันเสาร์
นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่เกิดวันเสาร์
* อายุย่าง 22 , 31 , 40 , 49 , 58 และ 67 ปีห้ามซื้อรถสีเทา สีดำ เพราะเป็นสีที่โชคร้ายในช่วงอายุที่ย่างมาถึง
* สำหรับช่วงอายุย่าง 23 , 32 , 41 ,50 ,59 , 68และอายุย่าง 77 ปี สีที่ห้ามซื้อคือสีฟ้า สีน้ำเงิน
* และช่วงอายุย่าง 18 , 27 , 36 ,45 ,54 , 63 และ 72ปี สีที่ห้ามซื้อคือ สีชมพู สีโอโรส เพราะเป็นสีที่โชคร้าย ในช่วงอายุที่มาถึงเช่นกัน
* ถ้าไม่ใช่อายุจรที่ย่างมาถึงดังกล่าวข้างต้นก็สามารถเลือกซื้อสีที่เป็นมงคลได้ตลอด
MKT Team
10 สัญญาณเตือนภัยของรถคุณ

คนใช้รถทุกวันนี้ บางคนอาจจะแค่ขับไปทำงานแล้วกลับบ้าน บางคนก็ขับไปไกลๆถึงต่างจังหวัด มีหลายคนที่ขับอย่างเดียว โดยที่ไม่สนใจหรือเอาใจใส่รถของตัวเองว่ามีสิ่งผิดปกติอะไรบ้าง ทั้งที่รถทุกคันควรได้รับการดูแลและตรวจเช็คก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต จึงขอแนะนำวิธีตรวจเช็ครถของคุณเบื้องต้น กับ 10 สัญญาณเตือนที่จะบ่งบอกได้ว่ารถของคุณนั้นอาการน่าเป็นห่วง

1. สัญญาณเตือน
เราสามารถรับสัญญาณบอกอาการผิดปกติของรถได้ โดยใช้ประสาททั้ง 5 คือ การเห็น การฟังเสียง การได้กลิ่น การจับต้องชิ้นส่วนนั้น ๆ และการลองขับดู ถ้าสังเกตพบสิ่งผิดปกติต่อไปนี้ ให้รีบทำการตรวจเช็คและซ่อมแซมโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ มากขึ้นกว่าเดิม

2. เครื่องยนต์
เครื่องยนต์คือหัวใจของรถ ถ้าเครื่องยนต์มีอาการดังนี้
- เครื่องร้อนจัดเกินไป ขับไปได้ไม่เท่าไร ความร้อนก็ขึ้นสูงเสียแล้ว
- เครื่องเย็นเกินไป แม้จะขับมาระยะทางไกลพอสมควรแล้ว เข็มวัดอุณหภูมิยังไม่กระดิก
- มีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์
ควรนำเข้าตรวจสภาพที่ศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ

3. ยาง
การสึกหรอของดอกยางแบบต่าง ๆ บอกเราได้ว่ายางผิดปกติไปอย่างไร
- ดอกยางตรงกลางล้อ สึกหรอมากกว่าขอบ แสดงว่าเติมลมแข็งเกินไป
- ดอกยางขอบล้อ สึกหรอมากกว่าตรงกลาง แสดงว่าเติมลมอ่อนเกินไป
- ดอกยางสึกหรอข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่ามุมแนวตั้งของยางไม่ตรง
- ดอกยางเป็นบั้ง ๆ แสดงว่าแนวของยางไม่ขนานกับแนวเคลื่อนที่ของรถ
นำรถเข้าอู่เพื่อตั้งศูนย์ล้อ หรือปรับแรงดันลมยางใหม่

4. คลัตซ์
คลัตซ์ที่มีปัญหา จะทำให้ควบคุมเกียร์ไม่ได้ อย่าละเลยอาการเหล่านี้
- คลัตซ์ลื่น หรือเข้าคลัตซ์ไม่สนิท หรือเหยียบแป้นคลัตซ์แล้ว แต่ยังเข้าเกียร์ได้ยาก
- คลัตซ์มีเสียงดัง เมื่อเหยียบแป้นคลัตซ์
- แป้นคลัตซ์สั่นขึ้น ๆ ลง ๆ ขณะกำลังขับ
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมช่วงล่าง หรือศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ

5. เกียร์
เกียร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแรงบิดของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับความเร็ว สัญญาณบอกเหตุว่าเกียร์มีปัญหาคือ
- มีเสียงดังทั้งในขณะอยู่ที่เกียร์ว่าง หรือเข้าเกียร์ใดเกียร์หนึ่งอยู่
- เปลี่ยนเกียร์ยาก มีอาการติดขัด หรือต้องขยับอยู่นาน
- มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ ทั้ง ๆที่เหยียบคลัตซ์แล้ว
- ห้องเกียร์มีน้ำมันหล่อลื่นไหลออกมา
ควรนำรถเข้าอู่ตรวจสอบห้องเกียร์

6.พวงมาลัย
พวงมาลัยที่มีปัญหาเหล่านี้ จะทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ยางเฟืองท้าย ชำรุดตามไปด้วย
- พวงมาลัยหนัก หรือต้องใช้แรงมากผิดปกติในการบังคับเลี้ยว
- พวงมาลัยหลวมเกินไป โดยมีระยะฟรีเกิน 1 นิ้ว
- พวงมาลัยสั่นในขณะขับ
ควรนำเข้าศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ

7. เบรก
ถ้าพบว่าเบรกมีอาการผิดปกติ ต้องรีบแก้ไขทันที เพราะเบรกชำรุด นำมาซึ่งอุบัติภัยได้ง่ายที่สุด
- เบรกลื่น หยุดรถไม่อยู่ แม้จะไม่ได้ลุยน้ำ
- เบรกแล้วรถปัดไปข้างใดข้างหนึ่ง
- แป้นเบรกยังจมลึกลงไปทั้ง ๆ ที่ถอนเท้าออกมาแล้ว
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมเบรกทันที

8. ไฟชาร์จ
ไฟชาร์จ ควรจะปรากฏขึ้นที่แผงหน้าปัดทุกครั้งที่เราสตาร์ทเครื่อง และเมื่อสตาร์ทติดแล้ว ครู่หนึ่งก็จะดับลง แต่ถ้าไฟชาร์จไม่สว่าง หรือสว่างแล้วไม่ยอมดับ อาจเกิดจากไดชาร์จผิดปกติหรือสาเหตุอื่น ๆ ก็ได้ ที่แน่ ๆ คือไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ รีบนำรถเข้าอู่ไดชาร์จหรือระบบไฟ

9. หลอดไฟ
หลอดไฟขาดบ่อย ๆ หรือต้องเติมน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่บ่อยเกินไป แสดงว่าอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า “เรกูเลเตอร์” ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟให้เหมาะสมชำรุด ควรนำรถเข้าอู่ระบบไฟ เพื่อซ่อมเรกูเลเตอร์ หรือหากชำรุดก็อาจจะต้องเปลี่ยนใหม่

10. น้ำมันหล่อลื่น
ถ้าสัญญาณไฟเตือนระบบน้ำมันหล่อลื่นสว่างขึ้นในขณะขับขี่รถยนต์ หมายถึงว่าเครื่องยนต์กำลังทำงานโดยปราศจากน้ำมันหล่อลื่น รีบนำรถไปยังอู่ที่ใกล้ที่สุดทันที

ถ้าอู่อยู่ไกล ให้เติมน้ำมันเครื่องใส่ลงในถังน้ำมันหล่อลื่นไปก่อน เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่น้ำมันหล่อลื่นแห้ง ควรใช้รถลากไปอู่ซ่อม