MKT Team
ไม่อยาก "เบรกแตก"..ต้องอ่าน!
ทุกคนต่าง รู้ดีว่าระบบเบรกที่ดี ย่อมหมายถึงความปลอดภัยของทุกชีวิตบนท้องถนน แต่ในทางกลับกัน เวลาเข้าศูนย์หรือตรวจเช็ครถตามระยะ เรามักตรวจสอบเครื่องยนต์ เกียร์ และล้อ โดยมองข้ามระบบเบรกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรามักไม่ใส่ใจในการเลือกน้ำมัน เบรกที่ใช้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการขับขี่อย่างปลอดภัย
เพราะน้ำมันเบรก ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลัง เมื่อเราเหยียบเบรก แรงดันที่เหยียบจะถูกถ่ายทอดผ่านน้ำมันเบรกเข้าไปในระบบห้ามล้อทั้ง 4 ล้อ ทำให้ความเร็วของรถช้าลง หรือหยุดตามแรงกดที่ต้องการ ซึ่งน้ำมันเบรกที่ดี นอกจากจะเป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลังแล้ว ยังต้องมีคุณสมบัติที่ดีอื่นๆ อีกด้วย

1. เป็นตัวหล่อลื่นส่วนต่างๆ ในระบบเบรก ช่วยป้องกันการสึกหรอ
2. ไม่เป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนที่เป็นโลหะในระบบหรือลูกยางต่างๆ
3. คงสภาพได้นาน แม้ว่าจะมีผลกระทบจากสิ่งแวดตามล้อมธรรมชาติ เช่นความชื้น
4. มีจุดเดือดสูงและไม่ระเหยง่าย ทนต่อแรงดันจากแรงเหยียบอย่างต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี

จากคุณสมบัติของน้ำมันเบรกดังกล่าว จุดเดือดของน้ำมันเบรกถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเนื่องจากเวลาเหยียบเบรกที่ ความเร็วสูงหรือบรรทุกหนัก อุณหภูมิที่ผ้าเบรกและจานเบรกจะสูงมาก ความร้อนดังกล่าวจะถ่ายเทมายังน้ำมันเบรกด้วย ถ้าน้ำมันเบรกมีจุดเดือดต่ำก็จะระเหยและกลายเป็นไอ ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลังในระบบเบรกได้ จึงทำให้เบรคไม่อยู่ หรือที่เรียกว่าเบรกแตกนั่นเอง
ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงควรตรวจเช็คระดับของน้ำมันเบรกอยู่เป็นประจำว่าอยู่ในระดับที่ เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งหากน้ำมันเบรกมากเกินขีดสูงสุด อาจสันนิษฐานได้ว่ามีน้ำเข้าไปปนเปื้อน แต่ถ้าน้อยเกินขีดต่ำสุด อาจสันนิษฐานได้ว่ามีการรั่วซึมในระบบเบรก หรืออาจเกิดจากผ้าเบรกสึก ซึ่งทั้ง 2 กรณี จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลง ทำให้เกิดอาการเบรกไม่อยู่ได้
นอกจากตรวจระดับน้ำมันเบรกเป็นประจำแล้ว ยังควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกทุกๆ 1-2 ปี แม้ว่าจะไม่มีการรั่วหรือลดระดับลงก็ตาม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุกะทันหัน เบรกจะยังตอบสนองได้เป็นอย่างดี
อีกข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรนำน้ำมันเบรกต่างยี่ห้อ หรือต่างมาตรฐานกันมาใช้งานผสมกัน เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกริยาทางเคมี ซึ่งเป็นสาเหตุให้คุณสมบัติของน้ำมันเบรกเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น หากต้องการเปลี่ยนยี่ห้อ หรือใช้น้ำมันเบรกที่มาตรฐานสูงขึ้น แนะนำให้ทำการล้างระบบเบรกก่อนทำการเปลี่ยนถ่าย
MKT Team
การปรับเบาะและท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง มีผลมากต่อความปลอดภัยในการขับรถ รวมถึงความปลอดภัยเมื่อเกิดการชนด้วย การปรับเบาะที่ถูกต้องทำได้ไม่ยาก แค่ใช้ฝ่าเท้า เน้นว่าฝ่าเท้า ไม่ใช่ปลายเท้า เหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด หรือถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็ใช้ฝ่าเท้าเหยียบแป้นเบรก แล้วเลื่อนตัวเบาะนั่งให้เข่างอเล็กน้อย นั่นเป็นตำแหน่งของเบาะนั่งที่เหมาะสม

ส่วนการปรับพนักพิงที่ถูกต้อง จะต้องไม่เอนหรือตั้งเกินไป ถ้าปรับพอดี จะเช็คได้โดย ใช้มือซ้ายจับพวงมาลัยในตำแหน่ง 9 นาฬิกา มือขวา 3 นาฬิกา แล้วข้อศอกต้องงอเล็กน้อย แต่แผ่นหลังต้องแนบกับพนักพิงตลอดเวลา

ปรับเสร็จแล้วลองเลื่อนมือไปวางไว้บนสุดของวงพวงมาลัย แถวๆ ข้อมือต้องแตะกับพวงมาลัยจึงจะถูกต้อง ถ้าวงพวงมาลัยอยู่เลยไปถึงกลางฝ่ามือหรือโคนนิ้ว แสดงว่าปรับพนักพิงเอนเกินไป ถ้าวงพวงมาลัยอยู่ชิดเลยข้อมือเข้ามาแสดงว่านั่งชิดเกินไป

หมอนรองศีรษะก็สำคัญ ควรปรับให้พอดีโดยให้เอนศีรษะแล้วพิงช่วงกลางหมอนพอดี แต่ศีรษะไม่ต้องพยายามพิงหมอนเวลาขับ เพราะหมอนรองศีรษะมีไว้รองรับเมื่อเกิดการชนแล้วศีรษะจะได้สะบัดไปด้านหลัง น้อย ไม่ใช่ไว้พิงตอนขับ

เข็มขัดนิรภัยถ้าปรับสูง-ต่ำได้ ก็ควรปรับต่อจากการปรับเบาะ จะได้พอดีกัน ที่ถูกต้องสายเข็มขัดนิรภัยต้องพาดจากไหปลาร้าเฉียงลงมาที่สะโพก ส่วนด้านล่างก็พาดอยู่แถวกระดูกเชิงกราน อย่าให้สายพาดคอ หรือห้อยเลยหัวไหล่ลงไป

พวง มาลัยของรถรุ่นใหม่ๆ มักปรับสูงต่ำได้ ก็ควรปรับให้พอดี คือ ไม่สูงเกินไปเพราะจะเมื่อยเมื่อขับนานๆ และไม่ต่ำเกินไปจนติดต้นขา กระจกมองข้างและกระจกมองหลังเปรียบเสมือนตาหลังของคนขับ กระจกมองข้างควรปรับไม่ก้มหรือเงยเกินไป และปรับให้เห็นด้านข้างของตัวรถเรานิดๆ อย่าให้เห็นแต่ทางด้านหลังล้วนๆ ส่วนกระจกมองหลังก็ปรับให้เห็นด้านหลังเป็นมุมกว้างที่สุด ไม่ใช่ปรับไว้ส่องหน้าตัวเองแบบที่หลายคนทำกัน

ทั้งหมดที่แนะนำต้องปรับตอนรถจอดนิ่งในที่ปลอดภัย อย่าปรับตอนขับรถหรือจอดบนถนน อันตราย ถุงลมนิรภัย หรือแอร์แบ็ก ซึ่งรถรุ่นใหม่ๆ มักมีมาให้อย่างน้อย 1 ใบในฝั่งผู้ขับ

ถุงลมนิรภัยจะพองตัวขึ้นเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ มีไว้รองรับร่างกายส่วนบนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ให้ปะทะกับพวงมาลัยหรือแผงหน้าปัดโดยตรง ช่วยลดความบาดเจ็บได้ แต่ก็ต้องมีการใช้งานที่ถูกต้องด้วย

สิ่ง สำคัญในการขับรถที่มีถุงลมฯ คือ ต้องปรับเบาะและพนักพิงให้เหมาะสม อย่าให้ชิดเข้ามามากเกินไป คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง และจับพวงมาลัยให้ถูกตำแหน่ง ถ้าปรับเบาะชิดไป และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร่างกายส่วนบนอาจปะทะกับถุงลมฯ ผิดจังหวะ คือ ปะทะตอนถุงลมยังพองตัวไม่สุด ร่างกายพุ่งไปด้านหน้าแล้วเจอกับถุงลมฯ ที่พุ่งสวนออกมา กลายเป็น 2 แรงบวกเจ็บหนักแน่

การจับพวงมาลัยก็เกี่ยวข้องกับถุงลมฯ เพราะถ้าจับไม่ถูกตำแหน่งแขนอาจไปขวางทางการพองตัวของถุงลมฯ ทำให้ถุงลมฯ ไม่ได้ทำงานตามที่ออกแบบมา

ส่วน รถที่มีถุงลมฯ ฝั่งข้างคนขับก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่วางของขวางทางถุงลมฯ และอ่านคำเตือนเรื่องถุงลมฯ ในคู่มือประจำรถอย่างละเอียดก่อนใช้งานด้วย ถุงลมนิรภัยจะช่วยลดความบาดเจ็บได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้งานอย่างถูกวิธี จำง่ายๆ ว่า อย่านั่งชิดเกินไป และต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดการขับรถ ไม่งั้นอาจกลายเป็นถุงลมมหาภัยได้

ตำแหน่งการจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง

จริงๆ แล้วอยากจะบอกว่า คนไทยมีการจับพวงมาลัยผิดตำแหน่งกันมากกว่าครึ่ง แต่ก็ไม่ได้สำรวจอย่างจริงจัง แค่ลองนั่งริมถนนคอยดูคนขับรถผ่านไปเท่านั้น3 สาเหตุที่ทำให้หลายคนปฏิบัติกันผิดๆ ก็คือ

1. เน้นความสบายของตนเองเป็นหลัก
2. จับพวงมาลัยตามใจชอบ ก็ไม่เห็นจะเกิดอุบัติเหตุเลย
3. ไม่มีใครบอกใครสอน ทั้งตอนหัดขับรถ หรือคนอื่นนั่งไปด้วย

ตำแหน่ง ที่ถูกต้องของการจับพวงมาลัย เมื่อเปรียบเทียบกับหน้าปัดนาฬิกา เพราะเป็นวงกลมเหมือนกันน่าจะเข้าใจกันได้ง่าย มือซ้ายอยู่ในตำแหน่ง 9 นาฬิกา มือขวาอยู่ในตำแหน่ง 3 นาฬิกา

ส่วนตำแหน่ง 10 และ 2 นาฬิกา อนุโลมได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะความแม่นยำในการบังคับควบคุมจะด้อยกว่าตำแหน่ง 9 และ 3 นาฬิกาซึ่งอยู่ครึ่งหรือช่วงกลางของวงพวงมาลัยพอดี

การกำพวงมาลัยสำหรับการขับรถบนเส้นทางเรียบ ไม่ใช่วิบาก ควรใช้นิ้วโป้งเกี่ยวช่วยด้วยเสมอ กำแน่นพอประมาณ แต่ไม่หลวมเกินไป ควรจับพวงมาลัย 2 มือ ที่ตำแหน่ง 9 และ 3 นาฬิกาอยู่เสมอ (แต่ไม่ถึงกับเกาหรือปรับวิทยุไมได้) อย่าชะล่าใจเมื่อเห็นเส้นทางโล่งๆ หรือเดินทางไกล เพราะถนนเมืองไทยมีหลุมโดยไม่ได้คาดหมาย หรือมีอะไรให้หักหลบฉุกเฉินได้เสมอ และหลังเปลี่ยนเกียร์แล้ว อย่าวางมือคาไว้บนหัวเกียร์ ให้ยกมือขึ้นมาจับพวงมาลัยครบ 2 มือตามปกติ

อ่าน แล้วนอกจากจะนำไปปฏิบัติ (เหมือนว่าบางคนจะแก้ไขยาก เพราะเคยชิน แต่ถ้าตั้งใจก็ไม่ยาก) ก็ควรเผยแพร่ออกไปเท่าที่ทำได้ เพราะไม่ใช่เรื่องยากเลยกับการจับพวงมาลัยครบ 2 มือตามตำแหน่งที่บอก เกือบตลอดการขับ ถ้าขับทางไกลแล้วรู้สึกเมื่อย ก็แค่บีบข้อศอกเข้ามาแตะลำตัวเท่านั้นเอง ไม่ควรคิดว่าจับพวงมาลัยตำแหน่งแบบไหนๆ ก็ไม่เคยขับรถชน เพราะถ้าพลาดเพียงครั้งเดียว อาจไม่มีโอกาสนึกถึงการแนะนำนี้เลยก็เป็นได้

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9480000008691
MKT Team
มองหลังด้วย..ช่วยคุณได้
ผู้ที่ขับขี่รถยนต์ทุกท่านคงเคยเกิดลักษณะของการเบรกกะทันหันไม่มากก็น้อย จะบ่อยหรือไม่บ่อยก็ตาม ซึ่งการเบรกแบบกะทันหันนั้นทำให้มีอาการใจหาย ตกใจรวมถึงอาการหวาดเสียวเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และสายตาของผู้ขับขี่ขณะนั้นส่วนใหญ่ก็จะมองไปในทิศทางทางด้านหน้ารถเสมอ หมายความว่าเมื่อทำการเบรกก็จะมองแต่รถคันหน้าเพราะกลัวว่าจะไปชนท้ายรถเขาอะไรทำนองนี้ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่อยู่ทางด้านหน้าโดยมิได้คำนึงถึงท้ายรถของตนเองเท่าใดนัก
ในการเบรกอย่างกะทันหัน โดยที่รถของเราหยุดได้อย่างปลอดภัยแต่เราไม่สามารถรับรู้ได้ว่าผู้ที่ขับรถยนต์ตามหลังจะทำการหยุดรถได้หรือไม่ ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะของการถูกชนท้ายมีให้เห็นในทุกเส้นทาง ไม่ว่าจะเกิดเพียง 2 คัน 3 คัน หรือมากกว่านั้น ดังนั้นหากเราทำการเบรกขอให้มองทางด้านท้ายรถโดยผ่านทางกระจกมองหลังว่ามีรถยนต์ตามมาอย่างกระชั้นชิดหรือไม่รวมถึงระยะห่างเป็นอย่างไรด้วย เพราะส่วนใหญ่จะพะวงไปในทิศทางด้านหน้าเท่านั้นและก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ไม่ว่ารถยนต์ของท่านจะขับเร็วหรือช้าก็ตาม ลองนึกภาพหากเราเป็นรถยนต์ที่อยู่ทางด้านหน้าแล้วเราเบรกอย่างกะทันหันแล้วรถยนต์คันหลังมีการเบรกแบบล้อตาย ดังเอี๊ยดๆ ที่จะชนท้ายรถของเราในจังหวะนี้ให้เราผ่อนเบรกเล็กน้อย ( ดูความเป็นไปได้จากทางด้านหน้ารถ ) ลักษณะนี้จะทำให้เกิดช่องว่างที่มากขึ้นจากรถคันหลัง ก็เท่ากับว่า โอกาสที่รถคันหลังจะชนแบบรุนแรงหรืออาจจะไม่ถูกชนเลยก็อาจเป็นไปได้นั่นเอง
จริงอยู่ว่าเราเบรกอย่างกะทันหันโดยไม่ชนรถคันหน้า ( เบรกอยู่ ) แต่เพื่อความไม่ประมาทให้ทำการมองหลังบ้าง เพราะเราเบรกอยู่แต่เขาเบรกไม่อยู่ เป็นการป้องกันที่รถของเราจะถูกชนท้ายครับ หลีกเลี่ยงการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นนั่นเองครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นความผิดของผู้ที่ชนท้ายก็ตาม เมื่อเป็นดังนี้ การเบรกในแต่ละครั้งควรฝึกการมองหลังกันไว้บ้างนะครับ ( คิดว่าทุกคนทำได้ครับ ) แล้วความปลอดภัยก็มีมากขึ้น ท้ายนี้ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุขทุกท่านครับ...
MKT Team
ระบบปรับอากาศของรถยนต์ในเมืองไทยเป็นสิ่งจำเป็น จะต้องติดตั้งอยู่ในรถยนต์ทุกคัน หากช่วงไหนระบบปรับอากาศ (แอร์) ของรถยนต์ไม่มีการทำงาน ก็เท่ากับว่า รถยนต์เป็นตู้อบเคลื่อนที่ทันที เข้าของรถจะต้องรีบซ่อมอย่างเร่งด่วน อะไรทำนองนี้ หากลองคิดมุมกลับ หากระบบปรับอากาศไม่ทำงาน คุณจะขับรถได้ไหม คำตอบคือ “ได้” ดังนั้น ขอให้อย่าวิตกกังวลจนเกินไป ให้ขับรถถึงจุดหมายหรือทำภารกิจให้เรียบร้อยก่อน พอมีเวลาว่างจึงนำรถเข้าซ่อมต่อไป
เรียนท่านผู้อ่าน อากาศในช่วงเช้าๆนั้นจะมีความรู้สึกว่าสดชื่น ให้ลองปิดระบบปรับอากาศแล้วหันมาเปิดกระจกหน้าต่างแทน (ถ้าสามารถทำได้) หากมีการจราจรที่แออัด รวมถึงฝนตกและสภาพแวดล้อมขณะนั้นไม่ดีเท่ากับว่ากระทำไม่ได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าเดินทางออกต่างจังหวัด ยิ่งเป็นช่วงเช้าอีกด้วยนั้น อากาศระบายมากๆการที่ขับขี่ปิดระบบปรับอากาศนั้น ท่านจะพบกับสิ่งที่ดีอย่างคาดไม่ถึง ได้แก่ประหยัดเงินในกระเป๋าได้จำนวนหนึ่ง หมายความว่า รถยนต์จะลดอัตราการบริโภคเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ เพราะระบบปรับอากาศเวลามีการทำงาน จะมีการฉุดรอบเครื่องยนต์ลงระดับหนึ่ง ประมาณ 100-200 รอบต่อนาทีเป็นอย่างน้อย ก็เท่ากับว่า กำลังงานขาดหายไปส่วนหนึ่ง ดังนั้น อัตราการสิ้นเปลืองของเชื้อเพลิงย่อมมีเพิ่มมากขึ้นนั้นเอง
ผู้ขับขี่จะได้รับความรู้สึกว่า รถยนต์วิ่งดีขึ้น อัตราเร่งดีขึ้นอย่างชัดเจน นั่นก็เป็นเพราะว่าเครื่องยนต์ไม่มีภาระใดมากระทำ หรือมาดึงกำลังงานจากตัวเครื่องยนต์ไปบางส่วน จึงทำให้เร่งได้อย่างทันใจ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่มีการแข่งขันกันนั้น จะไม่มีการเปิดระบบปรับอากาศใดๆเลย เพราะฉะนั้นแรงม้าและแรงบิดที่ได้ จะมีแบบเต็มๆ
ช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบปรับอากาศ หมายความว่า ระบบปรับอากาศในเมื่อได้ถูกใช้งานน้อยลง อายุการใช้งานก็นานขึ้น ไม่ว่าจะเป็น คอมเพรชเซอร์, ตู้แอร์, ท่อแอร์ และอื่นๆ ทุกชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องย่อมมีการใช้งานที่นานขึ้น การซ่อมบำรุงก็ช้าลง ก็เท่ากับว่าประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง ช่วยลดภาวะโลกร้อน เพราะชิ้นส่วนของระบบปรับอากาศหากมีการซ่อมเปลี่ยนเท่ากับว่าเป็นปัญหาขยะ สิ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการทำลาย, การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ แม้กระทั่งการจัดเก็บ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มนุษย์กระทำขึ้น ดังนั้น ควรใส่ใจในเรื่องของโลกร้อนบ้างก็ดี ทั้ง 4 ข้อ ที่ได้กล่าวมานั้น เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการที่ขับขี่แล้วมีการปิดระบบปรับอากาศ ประโยชน์ที่ได้ก็จะส่งผลมายังมนุษย์อีกนั่นแหล่ะ อีกอย่างหนึ่ง ปัจจุบัน ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเชื้อเพลิงประเภทอื่น สูงขึ้นกว่า เมื่อก่อนหลายเท่าตัว และนับวันก็จะมีแต่จะสูงขึ้น สูงขึ้น อย่างไม่รู้จบ จำนวนเชื้อเพลิงที่ถูกใช้ไปในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี มีมูลค่ามหาศาล และไม่มีใครรู้ว่า เชื้อเพลิงจะหมดลงเมื่อไหร่ ดังนั้น การที่ปิดระบบปรับอากาศ แล้วจะพบคำตอบใน 4 ข้อ ตามที่กล่าวมาอย่างแน่นอน ด้วยตัวของท่านเองปัจจุบัน ผู้ขับขี่รถยนต์ หันมาใส่ใจในเรื่องของราคาเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น และก็มีอยู่ไม่น้อยที่ปิดระบบปรับอากาศขณะเดินทางในตอนเช้า เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ ในต่างจังหวัดอาจจะพบบ่อย สังเกตได้จาก จะมีการเปิดกระจกหน้าต่าง ไม่ใช่ว่ารถยนต์ของเขา แอร์ไม่เย็น, สูบบุหรี่ หรือเปิดเครื่องเสียงโชว์ แต่อาจจะเป็นเพราะเขาคำนึงถึง 4 ข้อ ตามที่ได้กล่าวมาก็เป็นได้ และก็ไม่มีใครรู้ว่า เขาเหล่านั้นกระทำอย่างนั้นทำไม (ลองสอบถามดูแล้วกัน) แต่สำหรับผู้เขียนถ้ามีโอกาสเมื่อไหร่ จะปิดระบบปรับอากาศทันที แล้วหันไปเปิดหน้าต่างแทนครับ

“เรื่องอย่างนี้ไม่ยาก เพราะ ทุกท่านย่อมทำได้”ไม่มีแอร์ แต่ขับได้
MKT Team
เริ่มต้นจากหาทางวิ่งโล่ง ๆ ..ระยะซักประมาณ 100 - 200 เมตร ....พื้นผิวถนนหากเป็นไปได้ควรจะเป็นพื้น ซีเมนต์.. หรือ.. ยางมะตอย หลังจากนั้นขับรถด้วยความเร็วประมาณ 60 - 70 กม./ชม....แล้วเหยียบเบรกอย่างรุ่นแรงขณะ เหยียบแป้นเบรก จะรู้สึกได้ว่า แป้นเบรกดันออกมาเป็นระยะๆ... แรงต้านที่แป้นเบรกเกิดจากการทำงานของ.. ABS.. ครับแต่อย่าเพิ่งแน่ใจนะครับว่าแรงต้านที่แป้นเบรกนั้นเกิดจากการทำงานของ.ABS. เสมอไป เพราะลักษณะแรงต้านที่เกิดขึ้นนี้ จะมีลักษณะใกล้เคียงกัน อาการจานเบรกกด หรือ ผิวจานเบรกเป็นคลื่น เมื่อเหยียบเบรกจนกระทั่งรถหยุดสนิทแล้ว...
ต่อจากนั้นลงจากรถเพื่อไปดูร่องรอยการเบรกบนพื้นผิวถนน
จะเห็นได้ว่าเกิดรอยยางเป็นแนวยาว เว้นเป็นระยะๆ นั้น.ก็แสดง ว่า.. ระบบ ABS.. ยังคงทำงานเป็นปกติอยู่ครับ..
หรือ.. ถ้าเห็นรอยยางเป็นแนวยาวต่อเนื่องกันแสดงว่าระบบ.. ABS ไม่ทำงานครับ อย่างไรก็ตาม..
หากระบบ.. ABS.. เกิดปัญหา.. โดยปกติทั่วไปรถยนต์จะมีไฟ ABS ..โชว์เพื่อแจ้งเตือนให้ เราทราบ. เราสามารถนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อทำการตรวจเช็คได้โดยทันที .และสำหรับการทดสอบดังกล่าวข้างต้นก็ควรระมัดระวัง ในเรื่องของความปลอดภัยให้มาก เช่น พื้นผิวถนนไม่ควรจะเป็นพื้นลูกรัง...เพราะนอกจากจะไม่ค่อยเห็นร่องรอยจากการเบรกแล้ว ที่สำคัญก็คือ มีโอกาสเกิดการแฉลบได้ง่ายด้วยเช่นกัน ครับ