MKT Team
เรื่องของหลักการขับรถ ในทางโค้งที่ถูกต้องและปลอดภัย

ลักษณะของการหลุดโค้ง ก็จะมีอยู่สองแบบ คือ การหลุดโค้งไปทางซ้าย-หลุดโค้ง
ไปทางขวา เพราะการหักเลี้ยวในมุมที่มากกว่าปกติ ถ้าเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลัง ก็
จะทำให้ท้ายรถสะบัดออกไปชนแผงกั้นถนน หรือไม่ดีตัวรถนั้นก็พุ่งออกนอกโค้งไป
เลย ดังที่มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ และการบังคับพวงมาลัย จะต้องสัมพันธ์กับความเร็ว มี
การจับที่กระชับ ถนัดมือ ถ้าจับพวงมาลัยด้วยความเกร็ง หรือแน่นเกินไปก็จะทำให้
บังคับเลี้ยวได้ไม่ดีนัก หรือถ้าผ่อนเกินไปก็ไม่สามารถควบคุมแรงเหวี่ยงของรถได้
เหมือนกัน ส่วนความเร็วที่พอเหมาะกับการเข้าโค้งนั้นก็สำคัญเช่นกัน จึงมีสูตรที่
นักขับขี่ เรียกกันติดปากว่า การเข้าโค้งนั้นจะต้อง “เข้าให้ช้า - ออกให้เร็ว”

การเข้าให้ช้า นั้นก็คือ ขณะที่เรากำลังจะเข้าโค้งนั้น ทัศนวิสัยของเราจะต้องเห็น
ถึงปลายโค้ง และประเมินเอาว่า โค้งนี้น่าที่จะใช้ความเร็วเท่าใดจึงจะเหมาะสมและ
ปลอดภัย แต่บางครั้งก็มีโค้งบอด ซึ่งมองไม่เห็นทางข้างหน้า ก็ต้องใช้ความระมัด
ระวังเป็นพิเศษ หรือบางครั้ง เสา A (A Pillar) ของโครงรถเรา ก็มักบดบังทัศนวิสัย
ในการเข้าโค้งของเราเสียเอง แนะนำว่า ให้เราปรับการมองโดยอาศัยการมองโค้ง
ผ่านทางกระจกข้าง จะช่วยได้เยอะครับ หลังจาก ประเมินลักษณะโค้งแล้ว จากนั้น
ให้ลดความเร็วลง สมมุติว่าโค้งนี้น่าจะใช้ความเร็วไม่เกิน 40 กม/ชม ก็ให้แตะเบรก
และลดความเร็วเหลือ 40 จริงๆถ้ายังขับอยู่ที่เกียร์ 4 ก็ให้มาอยู่เกียร์ 3 หรือ 2 แทน
จากนั้นบังคับรถให้วิ่งอยู่ในเลนของตนเองครับ

ซึ่งระหว่างที่อยู่ในโค้ง ก็อย่าพยายามเร่งคันเร่ง เพราะอาจจะทำให้รถเสียหลักเสีย
การควบคุมได้ จนหลุดโค้ง หรืออาจพลิกคว่ำได้ครับ หรือหากมีป้ายบังคับความเร็ว
ของกรมทางหลวงติดเอาไว้ก่อนถึงโค้งถ้าป้ายจำกัดไว้ที่ 40 กม/ชม ก็ขอให้ปฏิบัติ
ตามจะดีกว่าครับ

การออกให้เร็ว จะเกิดหลังจากที่เรากำลังจะออกโค้งสู่ทางตรงแล้ว ก็ให้เพิ่มอัตรา
ความเร็วรอบสูงสุด หรือเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นตามลำดับ รถก็จะออกโค้งสู่ทางตรงได้
อย่างปลอดภัยครับ อีกทั้งให้ระวังรถที่วิ่งเข้ามาในเลนสวนและอย่าขับรถไปในเลน
สวนนั้น เพราะว่ารถที่สวนทางมาไม่สามารถมองเห็นรถที่วิ่งไปได้ ซึ่งทำให้เกิดการ
ชนประสานงาได้

ยิ่งในช่วงหน้าฝน มักมีอุบัติเหตุตามโค้งให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ผู้ขับขี่จึงต้อง
ระมัดระวังมากเป็นพิเศษครับ การเข้าให้ช้า ออกให้เร็ว เป็นหลักการที่นายทีก็ยังใช้
อยู่ทุกวัน ซึ่งถ้าบวกกับความระมัดระวังในการควบคุมรถ และก็ไม่ขับขี่ด้วยความคึก
คะนองด้วยเนี่ย จะเป็นเกราะป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างดีทีเดียวครับ
0 Responses

Post a Comment